คนพิการในประเทศไทย และในจังหวัดชายแดนภาคใต้

  • บทนำ

    คนพิการในประเทศไทยถูกระบุในสถิติอย่างเป็นทางการราว 2 ล้านคน หรือ 3.05% ของประชากรในประเทศไทย แม้ว่าประเทศไทยจะลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (CRPD) ซึ่งระบุอยู่ในพระราชบัญญัติการเสริมพลังคนพิการ (พ.ศ. 2550) และในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่คนพิการในสังคมไทยก็ยังคงเป็นคนชายขอบอย่างมาก เนื่องจากขาดการบังคับใช้กฎหมาย การตีตราอย่างรุนแรงและการมีความคิดที่ฝังแน่นเกี่ยวกับความพิการที่เชื่อมโยงกับบาปกรรม หรือแม้แต่เหตุผลทางการแพทย์เพียงเหตุผลเดียวเท่านั้น ทำให้คนพิการมักได้รับการส่งเสริมตามแนวทางการกุศลมากกว่าแนวทางตามสิทธิที่แสดงอยู่ในกฎหมาย นำไปสู่การเลือกปฏิบัติซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการได้รับความพึงพอใจอย่างเต็มที่ของคนพิการต่อสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม

    แม้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ของประเทศไทยได้ระบุถึงภาระหน้าที่ของรัฐในการปกป้องคนพิการจากการเลือกปฏิบัติและการเข้าถึงการรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพ อย่างไรก็ตาม นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิคนพิการอ้างว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่มีการกล่าวถึงคนพิการเลย ต่างจากฉบับปี 2550 ที่ถูกรับรองโดยนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิคนพิการ ดังนั้นพวกเขาจึงเรียกร้องให้คนพิการได้เข้าถึงโอกาสในการศึกษาที่เท่าเทียมรวมทั้งสิทธิขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการด้วย

    นอกจากนี้ แม้พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ได้ระบุถึงสิทธิของคนพิการในการคุ้มครองทางสังคมและการดูแลสุขภาพโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และมีการกำหนดอัตราความช่วยเหลือด้านสวัสดิการสังคมในปัจจุบันที่ให้แก่ผู้พิการ หรือที่เรียกว่า เบี้ยคนพิการเป็นเงิน 800 บาทต่อเดือน (ประมาณ 22 ยูโรหรือ 25 ดอลลาร์สหรัฐ) แต่จำนวนเงินเหล่านี้ยังไม่ครอบคลุมค่าครองชีพขั้นพื้นฐานและแม้ว่าจะมีการเพิ่มขึ้นตามแผนเป็น 1,000 บาทต่อเดือน โดยผู้พิการที่ได้รับคือกลุ่มผู้พิการได้รับสวัสดิการอื่นๆ หรือคนอายุต่ำกว่า 18 ปี แต่ยังมีคนพิการอีก 800,000 คนไม่สามารถเข้าถึงการเพิ่มเบี้ยคนพิการนี้ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมของผู้พิการทุพพลภาพ เงินจำนวนนี้ไม่เพียงพออย่างยิ่ง นอกจากนี้การได้รับเบี้ยคนพิการขึ้นอยู่กับการลงทะเบียนบัตรคนพิการด้วย ซึ่งการลงทะเบียนขึ้นอยู่กับการลงทะเบียนในระดับชาติเป็นอันดับแรกที่ทำให้การเข้าถึงสิทธิประโยชน์สำหรับคนพิการ และเป็นไปไม่ได้สำหรับผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนกลุ่มอื่น เช่นผู้ลี้ภัย ผู้อพยพและคนพิการในท้องถิ่น นอกจากนี้ การลงทะเบียนต้องใช้ใบรับรองแพทย์ที่ออกโดยโรงพยาบาลของรัฐบาลหรือเอกชนเท่านั้น นอกจากนี้คนพิการที่ไม่สามารถเข้าถึงการขนส่งในพื้นที่ได้นั้น กระบวนการเหล่านี้นี้อาจเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคสำหรับคนพิการด้วยเช่นกัน

    ปัญหาอุปสรรคต่างๆที่ระบุไว้ข้างต้นส่งผลให้คนพิการที่อยู่ในชุมชนซึ่งถือเป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศไทยไม่ถูกระบุอยู่ในบัญชีคนพิกา รขณะที่แผนแม่บทการพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย พ.ศ. 2558-2560 มีการอ้างอิงเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับการให้การสนับสนุนคนพิการจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันได้รับการสรุปไว้ในแผนส่งเสริมการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย พ.ศ.2561-2564 ก็ไม่มีการกล่าวถึงคนพิการอย่างชัดเจน

    คนพิการในจังหวัดชายแดนภาคใต้

    แม้ว่าจะมีข้อมูลอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับคนพิการซึ่งไม่ได้แยกสถานะของชนพื้นเมืองหรือชนกลุ่มน้อย แต่สถิติอย่างเป็นทางการระบุว่า มีคนพิการในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ที่ 51,920 คน (ผู้หญิง 23,072 คนและผู้ชาย 28,848 คน) หรือ 2.5 เปอร์เซ็นต์ของประชากรในจังหวัด เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยะลา นราธิวาสและปัตตานี (จังหวัดชายแดนภาคใต้) เป็นชาติพันธุ์มลายูและมุสลิมจึงมีแนวโน้มว่าคนพิการส่วนใหญ่ใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นชาวไทย– มลายูมุสลิมที่พูดภาษามาลายู ขณะที่คนพิการที่มีจำนวนน้อยกว่าและไม่ทราบจำนวนจะเป็นคนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ในพื้นที่ซึ่งรวมทั้งชาวพุทธจีน – ไทย ชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาจีนและผู้อพยพ

    ความยากลำบากที่คนพิการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องเผชิญนั้นคือ กระทบจากปัญหาเศรษฐกิจของภูมิภาคและความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ตลอดจนการเลือกปฏิบัติการตีตราและการเหมารวม เป็นผลให้คนพิการจำนวนมากประสบกับปัญหาการว่างงานในอัตราสูง การเข้าถึงการศึกษาที่ถูกจำกัด สุขภาพที่แย่ลง โอกาสทางเศรษฐกิจที่น้อยลง อัตราความยากจนที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการขาดโอกาสในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมและการเมืองโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบทของจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการรับรู้เกี่ยวกับสิทธิคนพิการตามกฎหมายไทยที่จำกัดและไม่เพียงพอ หรือการมีความรู้ที่ยังไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริการเพื่อคนพิการ เช่น ความไม่ถูกต้องในการแปลข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิคนพิการ การแปลระหว่างภาษาไทยเป็นภาษามาลายูท้องถิ่นเป็นภาษามืออาจเป็นอุปสรรคต่อผู้พิการ ซึ่งในความเป็นจริงควรเป็นบริการและผลประโยชน์ที่เขามีสิทธิที่พึงได้รับ นอกจากนี้ การตีตราความพิการยังนำไปสู่การที่คนพิการจำนวนมาก รวมถึงครอบครัวของพวกเขาไม่สามารถเปิดเผยผู้พิการที่อยู่ในบ้าน ทำให้พวกเขาไม่เข้าถึงการลงทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการด้านสุขภาพหรือสวัสดิการอื่น ๆ

    นอกจากนี้ผลกระทบจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ผู้คนจำนวน719 คนต้องกลายเป็นคนพิการ ร่วมกับเด็กกำพร้าแม่หม้ายและกลุ่มคนอื่นๆ แม้ผู้พิการเหล่านี้ยังมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนและความช่วยเหลือจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) อย่างไรก็ตามผู้พิการบางส่วนรายงานว่าพวกเขาไม่ได้รับเงินชดเชยเต็มจำนวน อย่างไรก็ตาม แผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2556-2566 ของกระทรวง พม. มีการอ้างถึงบุคคลหลายคนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และระบุถึงผลกระทบของความขัดแย้งที่มีต่อหญิงหม้ายชาวมลายูมุสลิมที่หลายคนต้องมีภาระดูแลและช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้พิการและเด็กในครอบครัว โดยไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอจากหน่วยงานของรัฐ อีกทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งไม่ได้รับการบริการด้านสุขภาพจิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็ก

    การเข้าถึงการดูแลสุขภาพ

    แผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2556-2566 ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ชี้ให้เห็นถึงความยากลำบากที่เพิ่มขึ้นของคนพิการที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการเข้าถึงการบริการด้านการรักษาพยาบาลในภูมิภาค อาทิ การมีระบบขนส่งสาธารณะที่ขาดสิ่งอำนวยความสะดวก การพึ่งพาสมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแลในการเดินทางไปโรงพยาบาล การมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่สูง และการไม่มีที่จอดรถคนพิการในโรงพยาบาลล้วนเป็นอุปสรรคต่อการได้รับการดูแลสุขภาพสำหรับผู้พิการ นอกจากนี้ การขาดการฝึกอบรมด้านสิทธิคนพิการและการรับรู้ของเจ้าหน้าที่ด้านการดูแลสุขภาพยังนำไปสู่การเลือกปฏิบัติ  เช่น บริการล่ามภาษามือที่มีอยู่อย่างจำกัดภายในสถานพยาบาลและปัญหาเกี่ยวกับการแปลที่ถูกต้องระหว่างภาษา ทำให้เกิดปัญหาสำหรับผู้ใช้ภาษามือในการตอบสนองความต้องการด้านการดูแลสุขภาพ

    ถึงแม้ว่ารัฐได้จัดหาอุปกรณ์ช่วยเหลือคนพิการ เช่น รถเข็น อุปกรณ์เดินและเครื่องช่วยฟัง แต่ก็มีปัญหาอุปสรรคที่คนพิการยังไม่ได้เข้ารับอุปกรณ์เหล่านี้ เนื่องจากสถานที่ที่คนพิการสามารถรับอุปกรณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีอยู่จำกัด อีกทั้งการไม่มีเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทและมีคุณสมบัติในการประเมินและสั่งซื้ออุปกรณ์ ด้วยเหตุผลทั้งสองประการทำให้เกิดอุปสรรคที่สำคัญซึ่งส่งผลให้คนพิการต้องรอเป็นเวลานานหรือไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์ได้เลย นอกจากนี้ การสำรวจความพิการในปี 2555 พบว่า ในภาคใต้ของประเทศไทยรวมถึงจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผู้พิการ 18 เปอร์เซ็นต์ไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์สำหรับคนพิการจำนวนมากที่มีความจำเป็นต่อการมีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันในบ้านและชุมชนซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ การขาดบริการบำรุงรักษาอุปกรณ์และความเชี่ยวชาญในพื้นที่อย่างแท้จริง แม้จะสามารถจัดหาอุปกรณ์ได้แต่เมื่อเกิดความเสียหายหรือหักพังก็ไม่สามารถใช้งานหรือซ่อมแซมได้ จากการสำรวจแหล่งเดียวกันพบว่าร้อยละ 46 ของผู้ที่มีอุปกรณ์ในภาคใต้ไม่ได้ใช้อุปกรณ์ที่ได้รับจากรัฐเนื่องจากไม่เหมาะสมหรือดูแลรักษายาก

    ผู้หญิงพิการ

    สำหรับผู้หญิงที่มีความพิการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ความพิการและสถานะของชนกลุ่มน้อยนำไปสู่การกดขี่และการละเมิดสิทธิอย่างรุนแรง หลักฐานเชิงประจักษ์ชี้ให้เห็นว่าผู้หญิงที่มีความพิการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงที่มีความบกพร่องทางสติปัญญามีความเสี่ยงที่จะถูกผู้ชายในชุมชนหรือครอบครัวข่มขืนซึ่งเป็นปัญหาที่แพร่หลายโดยมีการรับรู้จากสาธารณชนเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย การข่มขืนมักนำไปสู่การตั้งครรภ์ ขณะที่การเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์มีจำกัด เนื่องจากหลายเหตุผลเช่น ผู้นำชุมชนและสมาชิกในครอบครัวของเหยื่อมักไม่เต็มใจที่จะรายงานเหตุการณ์ต่อทางการไทย ทำให้ผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศจำนวนมากจึงไม่ถูกจับกุมหรือถูกตัดสินและไม่มีประวัติการล่วงละเมิดทางเพศและอาชญากรรมข่มขืนอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ เข้าไม่ถึงและการขาดความช่วยเหลือทางวัฒนธรรมที่เหมาะสมต่อสภาวะของการกดขี่อย่างยิ่งยวดต่อผู้หญิงที่มีความพิการ ทำให้เกิดการขัดขวางการคุ้มครองและการร้องขอความยุติธรรมสำหรับเหยื่อ การทำหมันเหยื่อมักถูกมองว่าเป็นวิธีการแก้ปัญหาแม้ว่าจะมีการพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีเช่น การติดตามโดยชุมชน

    การเข้าถึงการศึกษา

    แม้ว่าประเทศไทยจะกำหนดให้มีการส่งเสริมเด็กพิการในโรงเรียนกระแสหลัก แต่การขาดครูเฉพาะด้าน ทรัพยากรรวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น อักษรเบรลล์ ภาษามือ ทางลาด และห้องสุขาที่เหมาะสม ทำให้เด็กและเยาวชนที่มีความพิการทุกระดับชั้นการศึกษามีส่วนร่วมยากขึ้นหรือไม่ได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามซึ่งเป็นที่นิยมของประชากรมุสลิมส่วนใหญ่ การขาดสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ ทำให้เด็กพิการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีทางเลือกจำกัดในการศึกษาศาสนา

    ในกรณีที่มีบริการด้านการศึกษา แม้เด็กพิการสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แต่การรับรู้ที่จำกัด ตลอดจนความยากจนของครอบครัวมักเป็นอุปสรรคทำให้เด็กพิการจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาในโรงเรียน อย่างไรก็ตาม ศูนย์การศึกษาเฉพาะทางสำหรับคนพิการแห่งใหม่ที่กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างในจังหวัดยะลา อาจช่วยแก้ปัญหาอุปสรรคด้านการศึกษาสำหรับเด็กพิการในภูมิภาคต่อไป

    การจ้างงาน

    อัตราการจ้างงานสำหรับคนพิการในประเทศไทยโดยทั่วไปมีเพียงร้อยละ 26 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับอัตราการจ้างงานร้อยละ 75 สำหรับประชากรทั่วไปที่มีอายุเกิน 15 ปี ทั้งนี้เนื่องมาจากปัจจัยหลายประการ อาทิ ระดับการศึกษาที่ต่ำในหมู่คนพิการ การขาดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการในสถานที่ทำงาน ทัศนคติที่เลือกปฏิบัติและการเหมารวม และแม้ประเทศไทยมีโควต้าการจ้างงานสำหรับคนพิการซึ่งกำหนดให้ธุรกิจเอกชนและหน่วยงานของรัฐที่มีพนักงานมากกว่า 100 คนต้องจ้างคนพิการอย่างน้อยหนึ่งคนต่อพนักงาน 100 คน แต่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังมีธุรกิจขนาดใหญ่จำนวนน้อยมากที่มีพนักงานมากกว่า 100 คน ดังนั้น ในจังหวัดชายแดนใต้จึงมีธุรกิจจำนวนน้อยที่จะจ้างคนพิการเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศ นอกจากนี้คนพิการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่สามารถได้รับสิทธิประโยชน์จากรายได้ผู้จำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลไทยซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อจัดสรรตั๋ว 1.3 ล้านใบให้กับผู้ขายที่มีความพิการ ซึ่งโครงการนี้ไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากลักษณะของอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการพนันซึ่งเป็นสิ่งผิดหลักการศาสนาอิสลาม ดังนั้นแนวปฏิบัติในการจ้างงานในพื้นที่มักสนับสนุนคนงานที่มีร่างกายปกติ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขณะที่คนพิการมักเผชิญกับการเลือกปฏิบัติที่มีแบบแผน ซึ่งเกิดจากความคิดที่ว่าคนที่มีความบกพร่องเฉพาะด้านจะสามารถทำงานหรือการฝึกอบรมบางอย่างได้เท่านั้น นอกจากนี้ มีรายงานว่าคนพิการที่ทำงานหรือเริ่มต้นธุรกิจของตนเองมีปัญหาในการเข้าถึงความช่วยเหลือทางการเงินอีกด้วย

    หนทางในอนาคต

    จะเห็นได้ว่า สิทธิของคนพิการค่อยๆได้รับการยอมรับมากขึ้นในประเทศไทยเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของนักกิจกรรมด้านสิทธิคนพิการและองค์กรของคนพิการ รวมทั้งการเปิดกว้างของรัฐบาลไทยในการดำเนินการตามแนวทางสิทธิของคนพิการที่ตามที่กำหนดไว้ ใน CRPD อย่างไรก็ตาม นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิคนพิการยังคงแสดงความกังวลต่อความก้าวหน้าที่ล่าช้าในบางส่วน โดยพวกเขาได้ร่วมกับเครือข่ายอื่นๆ ในการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปรัฐธรรมนูญเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ พวกเขายังคงรณรงค์ให้มีการบังคับใช้กฎหมายสิทธิคนพิการที่มีอยู่อย่างเต็มที่เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงสิทธิทางสังคมเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของตนได้

    จะเห็นได้ว่าปัญหาความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้และสิทธิคนพิการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่สามารถมองว่าเป็น “ปัญหาที่แยกจากกัน” โดยผู้ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขความขัดแย้งและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนจะช่วยทำให้เกิดความก้าวหน้าในการตระหนักถึงสิทธิเหล่านี้ จนกว่าความต้องการขั้นพื้นฐานของคนพิการและครอบครัวจะได้รับการยอมรับในภูมิภาค โดยเฉพาะการเข้าถึงความช่วยเหลือด้านสวัสดิการ การดูแลสุขภาพ การศึกษา และการเข้าถึงอุปกรณ์ มิเช่นนั้นคนพิการจะยังคงต้องทนทุกข์ทรมานจากการถูกตีตราและการกดขี่และทำให้พวกเขายังตกเป็นชายขอบอย่างรุนแรง

    อัปเดตเมื่อธันวาคม 2020

No related content found.

  • Our strategy

    We work with ethnic, religious and linguistic minorities, and indigenous peoples to secure their rights and promote understanding between communities.

  • Stories

    Discover the latest insights from our global network of staff, partners and allies.

  • Events

    Join us for insightful discussions at webinars, screenings, exhibitions and more.